วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เด็กเก่งของ บ.ร.ว.

โรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา ของเรามีเด็กเก่งอยากแนะนำให้เห็นความสามารถว่าเด็ก บ.ร.ว.ก็ทำได้เหมือนกันเพียงแค่ไม่กี่เดือนเขาทำได้ขนาดนี้น่าชื่นชมน้องๆ พี่ๆ เพื่อนๆ ของหนูแพท ด.ญ.ปภาวดี มังสัง ดูเป็นตัวอย่างนะ ขอบอกว่าอะไรก็ตามที่อยากทำแล้วตั้งใจทำและจะต้องทำให้ได้นั้น มักจะประสบผลสำเร็จแน่นอนดังเช่น น้องแพทดีไง
 
 อยากให้นักเรียนทุกคนเป็นเหมือนน้องแพทที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่ง บ.ร.ว.ได้เข้าโครงการโรงเรียนในฝันเพราะอยากให้เป็นโรงเรียนดีใกล้บ้านเพื่อเด็กในท้องถิ่นจะได้มีเทคโนโลยีใหม่ๆไว้ให้เรียนรู้เทียบเท่าเด็กในเมืองรู้ทันโลกยุคใหม่ไม่ใช่ดูและรู้แต่เฉพาะในหนังสือ/
ตำรา ชาว บ.ร.ว.ทุกคนตั้งใจและมุ่งมั่นจะทำความฝันนี้ให้เป็นจริงเพื่อความก้าวหน้าของเด็กด้อยโอกาสได้พัฒนาตนเองให้ทันต่อยุคสมัย

                             ภาพน้องแพทกำลังโชว์เพลงให้ชาวเกาหลีดูฟังกันนะคะ

ดูน้องแพทเล่นแล้วเป็นไงบ้างบอกด้วยนะค่ะ

 


แห่งเดียวในโลก

                                             แค่หลวงของอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

แค่หลวงเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมานานของอำเภอบ้านโฮ่งปัจจุบันได้อนุรักษ์สืบสานให้เป็นที่รู้จัก แค่มีลักษณะเป็นไม้ขนาดเล็กที่จุดไฟให้แสงสว่างในตอนกลางคืนภาคกลางเรียกว่าไต้ ซึ่งชุมชนในอำเภอบ้านโฮ่งในสมัยก่อนไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงเพราะอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมากชาวบ้านจึงได้แต่จุดแค่ให้มีแสงสว่างยามค่ำคืนมาสมัยปัจจุบันนี้วิวัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าบ้านโฮ่งแห่งนี้จึงมีความศิวิไลไปตามยุคสมัยความเจริญต่างๆเข้าถึงมีไฟฟ้าใช้อย่างสะดวกสบายกว่าสมัยก่อนมากมาย  ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และลำรึกถึงพระคุณแห่งความสว่างสไวในภูมิปัญญาไทยจึงมีการจัดประเพณีอันยิ่งใหญ่ตระการตาให้ทั่วโลกได้รับรู้ว่าในคืนพระจันทร์เต็มดวงของเดือนสิบสองหรือเรียกอีกอย่างว่าวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งตรงกับวันลอยกระทงของไทยที่ทั่วทุกจังหวัดได้จัดงานประเพณีลอยกระทงทุกปี และอำเภอบ้านโฮ่งก็จะมีประเพณีแห่แค่หลวงขึ้นทุกปีเช่นกันดังภาพต่อไปนี้

























ตัวอย่างการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งคณะน้องใหม่ซิงๆจ๊ะ

ในงานมีการประกวดมากมาย เช่น ประกวดแค่หลวง ประกวดขบวนแค่หลวง ประกวดนางนพมาศ ประกวดร้องเพลง ประกวดโคมลอย ประกวดกลองสะบัดชัย ประกวดฟ้อน ประกวดบ้องไฟ ประกวดพืชไร่ ประกวดอาหารพื้นบ้าน และอีกมากมาย ถ้าใครอยากชมเชิญที่อำเภอบ้านโฮ่งได้ทุกปี





วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม

ความตั้งใจประกอบกับความชอบและแรงบันดาลใจอยากได้รางวัลให้กับเด็กๆ จึงคิดจัดทำฟ้อนหริภุญไชยประยุกต์ขึ้นประกอบกับจังหวะที่มีครูฝึกสอนดนตรีมาช่วยสอนดนตรีจึงเกิดฟ้อนหริภุญไชยประยุกต์ขึ้นจัดทำเป็นแผ่นซีดีส่งประกวดซึ่งเกณฑ์เขาให้เป็นการฟ้อนประกอบดนตรีและมีเนื้อร้องที่แต่งขึ้นเองประกอบในการแสดงด้วยเป็นสิ่งที่ชอบและอยากรู้ว่าจะเข้าตากรรมการหรือไม่ ผลปรากฏว่าส่งไปก็เงียบไปเลย เข้าใจว่าคงสู้มืออาชีพไม่ได้เพราะเราเป็นแค่มือสมัครเล่นไม่ได้เก่งกาจอะไรเด็กที่รำก็รำพอดูได้ไม่สวยเท่าเด็กนาฏศิลป์จริงๆ แต่แรงกำลังใจยังไม่หมดเพียงแค่นั้นความพยามสร้างสรรค์และนำผลงานออกสู่ชุมชนจนเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรมจึงกลายเป็นบทเรียนไว้สอนนักเรียนในหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยาจากนั้นได้ส่งเป็นผลงานครู คศ.3และด้วยความตั้งใจนี่เองจึงส่งผลให้ผลงานผ่านอย่างน่าภูมิใจที่สุด  จึงอยากบอกกับทุกคนว่า "ความตั้งใจทำอะไรในสิ่งที่ชอบและพยายามทำให้ดีที่สุด อดทนกับอุปสรรค์ปัญหารู้จักแก้ไขข้อผิดพลาดนำเสนอผลงานเชิงประจักษ์ ผลงานบรรลุผลแน่นอน"ผลงานที่บรรลุผล "บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม"
1. ประเด็นปัญหา : นักเรียนปฏิบัติท่าฟ้อนไม่ถูกต้อง
2. จุดพัฒนา : พัฒนานวัตกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
3. ความต้องการจำเป็น : นักเรียนสามารถปฏิบัติท่าฟ้อนหริภุญไชย วิถีไทยวิถีธรรมได้ถูกต้อง
4. ชื่อนวัตกรรม : คู่มือการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
5. วัตถุประสงค์:
5.1 เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง   การฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
5.2  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง  การฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
5.2  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
           
6.1  ทดสอบก่อนเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
           
6.2   ศึกษาความรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6.3  ฝึกปฏิบัติในแต่ละท่า6.4  ทดสอบปฏิบัติ                 
6.5  ทดสอบหลังเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6.6  ประเมินผล                      
                        - การสังเกต
                        - การทดสอบ
                        - การสอบถามความพึงพอใจ
7. เนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
7.1  แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนการฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
7.2  ประวัติความเป็นมาของฟ้อนหริภุญไชยและฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
7.3  องค์ประกอบของการฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
7.4  ท่าฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม 15 ท่า
7.5  การแสดงฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
8.  ขั้นตอนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
8.1  นักเรียนศึกษาวิธีการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
8.2  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
8.3  นักเรียนศึกษาเนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
8.4  ทดสอบปฏิบัติ
8.5  ทดสอบหลังเรียน
8.6  ประเมินความพึงพอใจ
 

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เพลงตำนานเจ้าแม่นางแก้ว

เพลง ตำนานเจ้าแม่นางแก้ว
ทำนอง          เพลงฝ้ายคำ        ดนตรี         วงดอกแก้ว
เนื้อร้อง          นางเกื้อกูล  พัฒนเวศน์    ครูชำนาญการพิเศษ  
                       โรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา  อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
นักร้อง           นางสาวสุพินญา  สิทธิการ  นักเรียนชั้น ม.6                                
โอกาสที่ใช้    ร้องประกอบการฟ้อนยอง
จะขอกล่าวตำนานนางแก้ว  เมินมาแล้ว ได้มีสาวงามนางหนึ่งได้จื่อว่าแม่นางแม่นางแก้ว
เจ้าตี้อยู่ดงไพรคอยเคียงข้างฮับไจ้ฤาษีพ่อไท้ตี้ในป่าดง คอยเคียงข้างฮับไจ้พ่อไท้ตี้ในป่าดง อันผิวกายรูปทรงแม้ในดง  งามดั่งมณี  อันผิวกายรูปทรง  รูปทรงงามดั่งมณี  อันผิวกายรูปทรงแม้อยู่ในดง งามดั่งมณี
 และถึงคราวมีกู้พระยาเจ้าเมือง ท่านพระยาเจ้าเมืองแข่งโหล้นขึ้นดอยเพื่อชิงตั๋วนาง มีพระยาเวียงหวาย จื่อว่าพระยาจันเป็นกู้ตุนาหงันได้เคียงกู้กั๋นกับแม่นางเฮา มีความสุขฮ่วมกั๋นฮักกั๋นผูกพันสุขสันต์ฮ่มเย็น มีความสุขตวยกั๋น ผูกพันสุขสันต์ ฮ่มเย็น แต่มีวันหนึ่งฮักลา เพราะหลงเจื่อศรัทธา พระยากอกพระยายี ไจ้กลลวงคนดี เจ้าแม่เฮาฮู้บ่าตัน ไจ้กลลวงคนดีเจ้าแม่เฮานี้บ่าฮู้เต้าตัน จุ๊ว่าพระยาจันไปต๋ายละกั๋นในค่ายศัตรู
·       * * * * จ๋ำไจ๋จากลี้ภัยไปก่อนแต่ขอวอนเพศภัยอย่าได้กรายกร้ำ ฮื่ออำนาจศีลธรรมและกัมมัฏฐานตี้เกยทำมา ขอบ่าฮื่อจายใด เข้ามากร้ำกรายเข้าใกล้ได้เลย ขอบ่าฮื่อจายใด
จายใดเข้าใกล้ได้เลย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองบ่าฮือปี้น้องตึงสองย่ำยีคงเป๋นเวรกรรมเก่า ฮักต้องโศกศัลย์  ความฮักต้องโศกศัลย์เมื่อพระยาจันบ่าฮู้ความจริง ตี้พระยาปี้น้องยะฮื่อเข้าใจ๋ผิด
เจื่อว่าเจ้าแก้วนาง เจ้าแม่แก้วนางนั้นมีหลายไจ๋  เจ้าแก้วอู้จะได จะอู้จะได ปี้ไท้บ่าฟัง
  เจ้าแก้วอู้จะได  จะไดปี้ไทบ่าฟัง  เจ้าแก้วอู้จะได     จะอู้จะได ปี้ไท้บ่าฟัง
* * * * มันคงเป๋นเหมือนเวรกรรมเก่าฮักของเจ้าพระยาตี้เข้าใจ๋ผิด คิดว่าเจ้าแก้วนาง เจ้าแม่แก้วนาง
นั้นมีหลายไจ๋  เจ้าแก้วอู้จะได จะอู้จะได ปี้ไท้บ่าฟัง  เจ้าแก้วอู้จะได จะไดปี้ไทบ่าฟัง เจ้าแก้วอู้จะได
จะอู้จะได ปี้ไท้บ่าฟัง  อันหัวอกเจ้าแม่ตี้ฮักสลาย จึงได้อกแตกต๋ายชีพนั้นวางวายด้วยไจ๋สุดทน คนฮักดูถูกไจ๋ บ่าขอสู้หน้าไผ๋ จึงได้นอนสิ้นไจ๋ได้นอนสิ้นไจ๋ ณ บวกหลวงเฮา  ฮักมาแตกสลายสิ้นชีพดับวาย
ณ บวกหลวงเฮา   ทวยราษฎร์ต่างโศกเศร้า โศกเศร้า ถึงเจ้าแม่นาง ทวยราษฎร์ต่างโศกเศร้า
ต่างก็โศกเศร้า ถึงเจ้าแม่นาง   
* * * * * พระยาหัวหล่ายได้นำอัฐิ   ฮื้อคนตังหลาย
ได้กราบไหว้ความฮักมั่น ตี้ขึ้นจื่อฮักจริงและเป็นแม่ญิงฮักนิ่งผูกพัน
ขึ้นจื่อเป๋นแม่ญิง แม่ญิงฮักนิ่งผูกพัน เจ้าแม่นางแก้วนั้นมีใจ๋ยึดมั่นฮักเดียวใจ๋เดียว
 เจ้าแม่ นางแก้วนั้นยึดมั่นฮักเดียวไจ๋เดียว   
เจ้าแม่นางแก้วนั้น   มีใจ๋ ยึดมั่นฮักเดียวไจ๋เดียว   
เฮาจะขอ ยึดมั่นเหมือนเจ้าแม่นั้นตี่ฮักเดียวไจ๋เดียว 
***********************************************************

ความเป็นมาของการฟ้อนยองประกอบเพลงตำนานเจ้าแม่นางแก้ว
               
โรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา ตั้งอยู่ในหมู่บ้านคนยองและแวดวงของคนยองบ้านหล่ายแก้ว ทางโรงเรียนจึงอยากให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของคนยองไว้ให้อยู่สืบไปในท้องถิ่น จึงแต่งตั้ง ให้คณะกรรมการโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ได้ช่วยกันอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีในทุก ๆ ด้านไว้   สำหรับด้านอาชีพศิลปะและวัฒนธรรม   ครูเกื้อกูล   พัฒนเวศน์  ซึ่งเป็นประธานกรรมการโครงการ เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะและเป็นผู้สอนศิลปะดนตรีและนาฏศิลป์ในโรงเรียน เป็นที่ปรึกษาโครงงานพัฒนาจิตด้วยดนตรีพื้นเมืองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4  ได้แต่งเพลงตำนานเจ้าแม่นางแก้วขึ้นโดยใช้ทำนองเพลงฝ้ายคำที่แต่เดิมใช้ประกอบการฟ้อนยองอยู่แล้วขึ้น   ทั้งนี้เพื่อต้องการให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ทราบถึงประวัติเจ้าแม่นางแก้ว ซึ่งเป็นตำนานเก่าแก่ของหมู่บ้านหล่ายแก้ว  และปัจจุบันชาวบ้านได้สร้างเป็นอนุเสารีย์เจ้าแม่นางแก้วไว้  ลานด้านหน้าวัดหล่ายแก้ว และเป็นทางผ่านเข้าโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยาพอดี   การฟ้อนยองประกอบเพลงตำนานเจ้าแม่นางแก้วนี้ เพื่อเป็นการสืบสานอนุรักษ์จึงไม่ได้ดัดแปลงท่าที่มีอยู่เดิมโดยอาจารย์ประเสริฐ  นันตา โรงเรียนวชิรป่าซาง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ เมื่อปีพุทธศักราช 2534   สำหรับ การแต่งกายเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย เหมาะกับช่างฟ้อนยุคปัจจุบันประกอบกับเครื่องแต่งกายที่มีอยู่แล้วประยุกต์ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวงรัชกาลที่ 9 องค์ปัจจุบัน เป็นแนวทางการดำเนินงานด้วย
วัตถุประสงค์
      1. เพื่ออนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาวยองในท้องถิ่น
      2. เพื่อให้เยาวชนได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเจ้าแม่นางแก้ว
      3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผลงานครูและการแสดงของนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เพลงมาร์ช บ.ร.ว.

ในปี พ.ศ.2529 นางเกื้อกูล  พัฒนเวศน์ เป็นครูที่ย้ายมาจากโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย มาสอนในโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยาซึ่งขณะนั้นยังเป็นโรงเรียนสาขาธีรกานท์บ้านโฮ่งอยู่ขณะนั้นข้าพเจ้ายังใช้ชื่อนางสาวเกื้อกูล ชมภู อายุ 25 ปี สามารถแต่งเพลงมาร์ช บ.ร.ว.ให้กับโรงเรียน เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่สุดเพราะ เป็นเพลงแรกในชีวิตที่ได้แต่งเพลงและมีใครๆ หลายคนร้องได้  แรงบันดาลใจที่ทำให้ข้าพเจ้าแต่งเพลงนี้ได้เพราะได้รับมอบหมายให้สอนวิชาศิลปะกับชีวิต ซึ่งเป็นวิชาที่ข้าพเจ้าชอบมาก แต่วิชาที่ข้าพเจ้าเรียนและจบโดยตรงคือ เอกคหกรรมศาสตร์ ที่ข้าพเจ้าถนัดที่สุด แต่ด้วยโรงเรียนนี้ขาดครูสอนเฉพาะด้านศิลปะดนตรี ข้าพเจ้าจึงได้มีโอกาสสอนในวิชาที่ชอบและประการสำคัญด้วยโรงเรียนนี้เปิดเป็น ร.ร.ใหม่ยังไม่มีเพลงประจำโรงเรียนข้าพเจ้าจึงได้แต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อบรรยายถึงภาพลักษณ์ของโรงเรียนตามสภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของนักเรียนและความคาดหวังตามจินตนาการณ์ด้วยความรู้สึกของข้าพเจ้าเองและปัจจุบันภาพลักษณ์เหล่านั้นก็ยังคงสภาพไม่เปลี่ยนแปลงไปมากมายนอกจากจะมีสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่มีเพิ่มขึ้นความทันสมัยของเทคโนโลยีต่างๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นตามยุค เนื้อเพลงที่แต่งขึ้นนักเรียน บ้านโฮ่งรัตนวิทยาทุกคนสามารถร้องได้เป็นอย่างดีทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่ได้สร้างสิ่งที่ให้นักเรียนจดจำไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเขาได้เรียนอยู่ในสถาบันแห่งนี้
                                       เพลงมาร์ช บ.ร.ว.
    (สร้อย)บ้านโฮ่งรัตนวิทยาพวกเราเริงร่าเฮฮาสนุกสนาน เก่งการเรียน เก่งกีฬาขยันทำงาน พวกเราชื่นบานสราญในสถาบันเรา
    ต้นไม้ไพรพฤกษา ขุนเขานกการ่ำร้อง ส่งเสียงดังกึกก้องท่วงทำนองเบิกบานไพเราะจับใจ
    ลมพาพัดเย็นฉ่ำฟ้าสีครามสะท้อนสดใส สีขาวเด่นปุยเมฆแลวิไล เมื่อใครๆ ได้เห็นชื่นระรื่นทรวง                           
                                                                             (สร้อย)
  คุณธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต พวกเราลูกศิษย์จะอุทิศและยึดมั่น สามัคคีดุจพี่น้องท้องเดียวกัน พวกเราบากบั่นสู้ทำงานเพื่อโรงเรียน เราแสนรักแสนหวงดั่งดวงจิต ไม่อยากคิดจะจากถิ่นนี้ไปไกล สุดบูชา สุดประวิง สุดอาลัย เมื่อก้าวไกลจำชื่อไว้จนชีพวาย  (สร้อย)
                                                                                                                    กล้วยไม้/บันทึก