วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เพลงตำนานเจ้าแม่นางแก้ว

เพลง ตำนานเจ้าแม่นางแก้ว
ทำนอง          เพลงฝ้ายคำ        ดนตรี         วงดอกแก้ว
เนื้อร้อง          นางเกื้อกูล  พัฒนเวศน์    ครูชำนาญการพิเศษ  
                       โรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา  อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
นักร้อง           นางสาวสุพินญา  สิทธิการ  นักเรียนชั้น ม.6                                
โอกาสที่ใช้    ร้องประกอบการฟ้อนยอง
จะขอกล่าวตำนานนางแก้ว  เมินมาแล้ว ได้มีสาวงามนางหนึ่งได้จื่อว่าแม่นางแม่นางแก้ว
เจ้าตี้อยู่ดงไพรคอยเคียงข้างฮับไจ้ฤาษีพ่อไท้ตี้ในป่าดง คอยเคียงข้างฮับไจ้พ่อไท้ตี้ในป่าดง อันผิวกายรูปทรงแม้ในดง  งามดั่งมณี  อันผิวกายรูปทรง  รูปทรงงามดั่งมณี  อันผิวกายรูปทรงแม้อยู่ในดง งามดั่งมณี
 และถึงคราวมีกู้พระยาเจ้าเมือง ท่านพระยาเจ้าเมืองแข่งโหล้นขึ้นดอยเพื่อชิงตั๋วนาง มีพระยาเวียงหวาย จื่อว่าพระยาจันเป็นกู้ตุนาหงันได้เคียงกู้กั๋นกับแม่นางเฮา มีความสุขฮ่วมกั๋นฮักกั๋นผูกพันสุขสันต์ฮ่มเย็น มีความสุขตวยกั๋น ผูกพันสุขสันต์ ฮ่มเย็น แต่มีวันหนึ่งฮักลา เพราะหลงเจื่อศรัทธา พระยากอกพระยายี ไจ้กลลวงคนดี เจ้าแม่เฮาฮู้บ่าตัน ไจ้กลลวงคนดีเจ้าแม่เฮานี้บ่าฮู้เต้าตัน จุ๊ว่าพระยาจันไปต๋ายละกั๋นในค่ายศัตรู
·       * * * * จ๋ำไจ๋จากลี้ภัยไปก่อนแต่ขอวอนเพศภัยอย่าได้กรายกร้ำ ฮื่ออำนาจศีลธรรมและกัมมัฏฐานตี้เกยทำมา ขอบ่าฮื่อจายใด เข้ามากร้ำกรายเข้าใกล้ได้เลย ขอบ่าฮื่อจายใด
จายใดเข้าใกล้ได้เลย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองบ่าฮือปี้น้องตึงสองย่ำยีคงเป๋นเวรกรรมเก่า ฮักต้องโศกศัลย์  ความฮักต้องโศกศัลย์เมื่อพระยาจันบ่าฮู้ความจริง ตี้พระยาปี้น้องยะฮื่อเข้าใจ๋ผิด
เจื่อว่าเจ้าแก้วนาง เจ้าแม่แก้วนางนั้นมีหลายไจ๋  เจ้าแก้วอู้จะได จะอู้จะได ปี้ไท้บ่าฟัง
  เจ้าแก้วอู้จะได  จะไดปี้ไทบ่าฟัง  เจ้าแก้วอู้จะได     จะอู้จะได ปี้ไท้บ่าฟัง
* * * * มันคงเป๋นเหมือนเวรกรรมเก่าฮักของเจ้าพระยาตี้เข้าใจ๋ผิด คิดว่าเจ้าแก้วนาง เจ้าแม่แก้วนาง
นั้นมีหลายไจ๋  เจ้าแก้วอู้จะได จะอู้จะได ปี้ไท้บ่าฟัง  เจ้าแก้วอู้จะได จะไดปี้ไทบ่าฟัง เจ้าแก้วอู้จะได
จะอู้จะได ปี้ไท้บ่าฟัง  อันหัวอกเจ้าแม่ตี้ฮักสลาย จึงได้อกแตกต๋ายชีพนั้นวางวายด้วยไจ๋สุดทน คนฮักดูถูกไจ๋ บ่าขอสู้หน้าไผ๋ จึงได้นอนสิ้นไจ๋ได้นอนสิ้นไจ๋ ณ บวกหลวงเฮา  ฮักมาแตกสลายสิ้นชีพดับวาย
ณ บวกหลวงเฮา   ทวยราษฎร์ต่างโศกเศร้า โศกเศร้า ถึงเจ้าแม่นาง ทวยราษฎร์ต่างโศกเศร้า
ต่างก็โศกเศร้า ถึงเจ้าแม่นาง   
* * * * * พระยาหัวหล่ายได้นำอัฐิ   ฮื้อคนตังหลาย
ได้กราบไหว้ความฮักมั่น ตี้ขึ้นจื่อฮักจริงและเป็นแม่ญิงฮักนิ่งผูกพัน
ขึ้นจื่อเป๋นแม่ญิง แม่ญิงฮักนิ่งผูกพัน เจ้าแม่นางแก้วนั้นมีใจ๋ยึดมั่นฮักเดียวใจ๋เดียว
 เจ้าแม่ นางแก้วนั้นยึดมั่นฮักเดียวไจ๋เดียว   
เจ้าแม่นางแก้วนั้น   มีใจ๋ ยึดมั่นฮักเดียวไจ๋เดียว   
เฮาจะขอ ยึดมั่นเหมือนเจ้าแม่นั้นตี่ฮักเดียวไจ๋เดียว 
***********************************************************

ความเป็นมาของการฟ้อนยองประกอบเพลงตำนานเจ้าแม่นางแก้ว
               
โรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา ตั้งอยู่ในหมู่บ้านคนยองและแวดวงของคนยองบ้านหล่ายแก้ว ทางโรงเรียนจึงอยากให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของคนยองไว้ให้อยู่สืบไปในท้องถิ่น จึงแต่งตั้ง ให้คณะกรรมการโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ได้ช่วยกันอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีในทุก ๆ ด้านไว้   สำหรับด้านอาชีพศิลปะและวัฒนธรรม   ครูเกื้อกูล   พัฒนเวศน์  ซึ่งเป็นประธานกรรมการโครงการ เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะและเป็นผู้สอนศิลปะดนตรีและนาฏศิลป์ในโรงเรียน เป็นที่ปรึกษาโครงงานพัฒนาจิตด้วยดนตรีพื้นเมืองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4  ได้แต่งเพลงตำนานเจ้าแม่นางแก้วขึ้นโดยใช้ทำนองเพลงฝ้ายคำที่แต่เดิมใช้ประกอบการฟ้อนยองอยู่แล้วขึ้น   ทั้งนี้เพื่อต้องการให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ทราบถึงประวัติเจ้าแม่นางแก้ว ซึ่งเป็นตำนานเก่าแก่ของหมู่บ้านหล่ายแก้ว  และปัจจุบันชาวบ้านได้สร้างเป็นอนุเสารีย์เจ้าแม่นางแก้วไว้  ลานด้านหน้าวัดหล่ายแก้ว และเป็นทางผ่านเข้าโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยาพอดี   การฟ้อนยองประกอบเพลงตำนานเจ้าแม่นางแก้วนี้ เพื่อเป็นการสืบสานอนุรักษ์จึงไม่ได้ดัดแปลงท่าที่มีอยู่เดิมโดยอาจารย์ประเสริฐ  นันตา โรงเรียนวชิรป่าซาง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ เมื่อปีพุทธศักราช 2534   สำหรับ การแต่งกายเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย เหมาะกับช่างฟ้อนยุคปัจจุบันประกอบกับเครื่องแต่งกายที่มีอยู่แล้วประยุกต์ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวงรัชกาลที่ 9 องค์ปัจจุบัน เป็นแนวทางการดำเนินงานด้วย
วัตถุประสงค์
      1. เพื่ออนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาวยองในท้องถิ่น
      2. เพื่อให้เยาวชนได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเจ้าแม่นางแก้ว
      3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผลงานครูและการแสดงของนักเรียนโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เพลงมาร์ช บ.ร.ว.

ในปี พ.ศ.2529 นางเกื้อกูล  พัฒนเวศน์ เป็นครูที่ย้ายมาจากโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย มาสอนในโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยาซึ่งขณะนั้นยังเป็นโรงเรียนสาขาธีรกานท์บ้านโฮ่งอยู่ขณะนั้นข้าพเจ้ายังใช้ชื่อนางสาวเกื้อกูล ชมภู อายุ 25 ปี สามารถแต่งเพลงมาร์ช บ.ร.ว.ให้กับโรงเรียน เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่สุดเพราะ เป็นเพลงแรกในชีวิตที่ได้แต่งเพลงและมีใครๆ หลายคนร้องได้  แรงบันดาลใจที่ทำให้ข้าพเจ้าแต่งเพลงนี้ได้เพราะได้รับมอบหมายให้สอนวิชาศิลปะกับชีวิต ซึ่งเป็นวิชาที่ข้าพเจ้าชอบมาก แต่วิชาที่ข้าพเจ้าเรียนและจบโดยตรงคือ เอกคหกรรมศาสตร์ ที่ข้าพเจ้าถนัดที่สุด แต่ด้วยโรงเรียนนี้ขาดครูสอนเฉพาะด้านศิลปะดนตรี ข้าพเจ้าจึงได้มีโอกาสสอนในวิชาที่ชอบและประการสำคัญด้วยโรงเรียนนี้เปิดเป็น ร.ร.ใหม่ยังไม่มีเพลงประจำโรงเรียนข้าพเจ้าจึงได้แต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อบรรยายถึงภาพลักษณ์ของโรงเรียนตามสภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของนักเรียนและความคาดหวังตามจินตนาการณ์ด้วยความรู้สึกของข้าพเจ้าเองและปัจจุบันภาพลักษณ์เหล่านั้นก็ยังคงสภาพไม่เปลี่ยนแปลงไปมากมายนอกจากจะมีสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่มีเพิ่มขึ้นความทันสมัยของเทคโนโลยีต่างๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นตามยุค เนื้อเพลงที่แต่งขึ้นนักเรียน บ้านโฮ่งรัตนวิทยาทุกคนสามารถร้องได้เป็นอย่างดีทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่ได้สร้างสิ่งที่ให้นักเรียนจดจำไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเขาได้เรียนอยู่ในสถาบันแห่งนี้
                                       เพลงมาร์ช บ.ร.ว.
    (สร้อย)บ้านโฮ่งรัตนวิทยาพวกเราเริงร่าเฮฮาสนุกสนาน เก่งการเรียน เก่งกีฬาขยันทำงาน พวกเราชื่นบานสราญในสถาบันเรา
    ต้นไม้ไพรพฤกษา ขุนเขานกการ่ำร้อง ส่งเสียงดังกึกก้องท่วงทำนองเบิกบานไพเราะจับใจ
    ลมพาพัดเย็นฉ่ำฟ้าสีครามสะท้อนสดใส สีขาวเด่นปุยเมฆแลวิไล เมื่อใครๆ ได้เห็นชื่นระรื่นทรวง                           
                                                                             (สร้อย)
  คุณธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนชีวิต พวกเราลูกศิษย์จะอุทิศและยึดมั่น สามัคคีดุจพี่น้องท้องเดียวกัน พวกเราบากบั่นสู้ทำงานเพื่อโรงเรียน เราแสนรักแสนหวงดั่งดวงจิต ไม่อยากคิดจะจากถิ่นนี้ไปไกล สุดบูชา สุดประวิง สุดอาลัย เมื่อก้าวไกลจำชื่อไว้จนชีพวาย  (สร้อย)
                                                                                                                    กล้วยไม้/บันทึก