วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม

ความตั้งใจประกอบกับความชอบและแรงบันดาลใจอยากได้รางวัลให้กับเด็กๆ จึงคิดจัดทำฟ้อนหริภุญไชยประยุกต์ขึ้นประกอบกับจังหวะที่มีครูฝึกสอนดนตรีมาช่วยสอนดนตรีจึงเกิดฟ้อนหริภุญไชยประยุกต์ขึ้นจัดทำเป็นแผ่นซีดีส่งประกวดซึ่งเกณฑ์เขาให้เป็นการฟ้อนประกอบดนตรีและมีเนื้อร้องที่แต่งขึ้นเองประกอบในการแสดงด้วยเป็นสิ่งที่ชอบและอยากรู้ว่าจะเข้าตากรรมการหรือไม่ ผลปรากฏว่าส่งไปก็เงียบไปเลย เข้าใจว่าคงสู้มืออาชีพไม่ได้เพราะเราเป็นแค่มือสมัครเล่นไม่ได้เก่งกาจอะไรเด็กที่รำก็รำพอดูได้ไม่สวยเท่าเด็กนาฏศิลป์จริงๆ แต่แรงกำลังใจยังไม่หมดเพียงแค่นั้นความพยามสร้างสรรค์และนำผลงานออกสู่ชุมชนจนเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรมจึงกลายเป็นบทเรียนไว้สอนนักเรียนในหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยาจากนั้นได้ส่งเป็นผลงานครู คศ.3และด้วยความตั้งใจนี่เองจึงส่งผลให้ผลงานผ่านอย่างน่าภูมิใจที่สุด  จึงอยากบอกกับทุกคนว่า "ความตั้งใจทำอะไรในสิ่งที่ชอบและพยายามทำให้ดีที่สุด อดทนกับอุปสรรค์ปัญหารู้จักแก้ไขข้อผิดพลาดนำเสนอผลงานเชิงประจักษ์ ผลงานบรรลุผลแน่นอน"ผลงานที่บรรลุผล "บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม"
1. ประเด็นปัญหา : นักเรียนปฏิบัติท่าฟ้อนไม่ถูกต้อง
2. จุดพัฒนา : พัฒนานวัตกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
3. ความต้องการจำเป็น : นักเรียนสามารถปฏิบัติท่าฟ้อนหริภุญไชย วิถีไทยวิถีธรรมได้ถูกต้อง
4. ชื่อนวัตกรรม : คู่มือการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
5. วัตถุประสงค์:
5.1 เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง   การฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
5.2  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง  การฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
5.2  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
           
6.1  ทดสอบก่อนเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
           
6.2   ศึกษาความรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6.3  ฝึกปฏิบัติในแต่ละท่า6.4  ทดสอบปฏิบัติ                 
6.5  ทดสอบหลังเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6.6  ประเมินผล                      
                        - การสังเกต
                        - การทดสอบ
                        - การสอบถามความพึงพอใจ
7. เนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
7.1  แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนการฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
7.2  ประวัติความเป็นมาของฟ้อนหริภุญไชยและฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
7.3  องค์ประกอบของการฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
7.4  ท่าฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม 15 ท่า
7.5  การแสดงฟ้อนหริภุญไชยวิถีไทยวิถีธรรม
8.  ขั้นตอนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
8.1  นักเรียนศึกษาวิธีการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
8.2  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
8.3  นักเรียนศึกษาเนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
8.4  ทดสอบปฏิบัติ
8.5  ทดสอบหลังเรียน
8.6  ประเมินความพึงพอใจ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น